วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทรานซีฟเวอร์

ทรานซีฟเวอร์ หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการสื่อสารของสเตชั่นเข้ากับเครือข่ายเช่นเดียวกับคอนเนตเตอร์หรืออินเทอร์เฟชในเครือข่าย LAN ทั่วไป ทรานซีฟเวอร์จะอยู่ใน LAN Card แต่ในเครือข่าย LAN อาจจะใช้ทรานซีฟเวอร์เชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับสายสื่อสารของเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารเข้ากับสเตชั่น ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองมากกว่าการใช้คอนเนคเตอร์ธรรมดา

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Transceiver ทรานซีฟเวอร์

3com-3com Switch 7700 8-port 10000BASE-X Module





เป็นทรานซีฟเวอร์ที่ออกแบบให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.3 โดยใช้ AUI ที่ติดตั้งและเชื่อมโยงได้ง่าย
รองรับสายนำสัญญาณแบบ UTP และสาย Fiber Optic ได้
ใช้อาร์ดแวร์คุณภาพสูงจึงสร้างความน่าเชื่อและเสถียรภาพในการทำงานของอุปกรณ์
มีหลอดไฟแสดงสถานะการทำงานให้สังเกตได้ง่าย

Allied Telesyn-AT-210TS AUT to RJ-45 w/4 LED, Slim


เป็น Gigabit Interface Converter (GBIC) ที่ติดตั้งใช้งานกับสวิตซ์ของ 3Com
สนับสนุนการเชื่อมต่อกับสายนำสัญญาณชนิด Fiber Optic แบบ Single Mode
ติดตั้งได้ง่ายๆ ในแบบ Module
สนับสนุนมาตรฐาน 1000BASE-Long-Haull
หัวเชื่อมต่อแบบ SC Type
สนับสนุนการใช้งานกับสวิตซ์ 3Com ที่ใช้ GBIC ได้

TREDnet- TE-TF AUT-to-STTransceiver


เป็นคอนเวิร์สเตอร์สำหรับแปลงสายนำสัญญาณด้วยหัวเชื่อมต่อแบบ AUI เป็น ST
ช่วยให้ระบบเครือข่ายที่มีโครงสร้างทั้งสองแบบสามารถตืดต่อสื่อสารกันได้
ช่วยเพิ่มระยะทางในการสื่อสารไปในระยะทางไกลได้
ช่วยลดต้นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทั้งหมดด้วยการหันมาใช้โครงสร้างเดิมที่มีอยู่
ช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
สนับสนุนการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างดี






http://www.buycoms.com/product.asp?ProductTypeID=73
http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=40290
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/datacom/CAI/part4-6.htm

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รูปแบบการเชื่อมต่อ

1 .รูปแบบ การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
ในระบบเครือข่ายทุกชนิด เทอร์มินอล คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งรูปแบบหรือวิธีการเชื่อมต่อจะเป็นตัวกำหนดวิธีการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ การเชื่อมต่อ พื้นฐานมีอยู่สองแบบ คือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบเชื่อมต่อหลายจุด
1.1 การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด
การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด (Point-to-Point Connection) อาศัยการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในหลายแบบคือ
8.1.1.1 การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องเมนเฟรมในกรณีที่สามารถเชื่อมต่อได้และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไป
8.1.1.2 การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลบางเครื่องกับเครื่องเมนเฟรมเมื่อเทอร์มินอลอยู่ไกลออกไปมาก
8.1.1.3 การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระบบ ผู้บริหารเครือข่าย หรือโปรแกรมเมอร์ มักจะใช้เทอร์มินอลที่อยู่ใกล้กับเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล (Console Terminal) สำหรับการตรวจสอบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายจะมีเครื่องที่เรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล จะเชื่อมต่อกับเมนเฟรมแบบจุด-ต่อ-จุด ซึ่งจะช่วยให้การติดต่อเกิดขึ้นได้ทันทีทันใด เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการการควบคุมอย่างใกล้ชิด และการติดต่อที่ต้องการส่ง ข้อมูลปริมาณมาก
1.2 การเชื่อมต่อแบบหลายจุด
การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Connections) มีเครื่องโฮสต์หนึ่งเครื่องที่ต้นสายสื่อสาร ส่วนที่ปลายสายจะมีเทอร์มินอลอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากกว่าการเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด อันที่จริงแล้วการเชื่อมต่อของเทอร์นินอลส่วนใหญ่เป็นแบบเชื่อมต่อแบบหลายจุดโดยมีสายสื่อสารเพียงเส้นเดียวติดต่อรับและส่งข้อมูลเข้าที่เครื่องเมนเฟรม สายสื่อสารเส้นเดียวนี้อาจเชื่อมต่อผ่านโมเด็มเพื่อติดต่อกับเทอร์มินอลที่อยู่ไกลออกไป หรือติดต่อกับเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ หรือคอนเซ็นเทรเตอร์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นก่อนที่จะส่งให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ทำการประมวลผลในที่สุด



การใช้ระบบเครือข่ายแบบเชื่อมต่อหลายจุด ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในส่วนของการเชื่อมต่อแบบจุด - ต่อ - จุดลงได้มากโดยเฉพาะในระบบที่มีเทอร์มินอลระยะไกลติดตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก สมมุติว่าบริษัทแห่งหนึ่งที่สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ และมีสาขาแห่งหนึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเทอร์มินอลจำนวน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะใช้คอนเซ็นเทรเตอร์ตัวหนึ่งพ่วงเทอร์มินอลทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วใช้โมเด็มคู่หนึ่งเพื่อติดต่อผ่านสายโทรศัพท์มาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรมที่กรุงเทพ เมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อแบบจุด - ต่อ - จุดแล้ว จะต้องใช้โมเด็มจำนวน 10 คู่พร้อมสายโทรศัพท์ 10 คู่สาย เพื่อเชื่อมต่อเทอร์มินอลทั้งหมดกับเมนเฟรมซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากทีเดียว

2.โครงสร้างการเชื่อมต่อ

2.1 เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วง เวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำ ให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัป เครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสาย เคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มี คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
ข้อดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อยข้อเสีย อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียวดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วยการตรวจหาโหนดเสียทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์กซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้



2.2 เครือข่ายแบบดาว (Star Network)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ ที่เป็น จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี ต่าง ๆ ที่ต้องกา

ข้อดีติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหายทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใดข้อเสียเสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central nodeและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบ วงแหวน (Ring Network)

2.3 เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรง ตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอน อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทางติดต่อกัน

ข้อดีใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกันข้อเสีย
หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก แบบบัส


2.4 เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)
เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่าย แบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน
ข้อดี- มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูง โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการสื่อสารก็เป็นแบบพื้นฐานไม่ซับซ้อนมากนัก- สามารถรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมากและไม่มีปัญหาเรื่องการจัดการการจราจรในสื่อส่งข้อมูลไม่เหมือนกับแบบที่ใช้สื่อส่งข้อมูลร่วมกัน- มีความทนทานต่อความเสียหายเมื่อสื่อส่งข้อมูลหรือสายใดสายหนึ่งเสียหายใช้การไม่ได้ ไม่ส่งผลต่อระบบเครือข่ายโดยรวม แต่เกิดเสียหายเฉพาะเครื่องต้นสายและปลายสายเท่านั้น- ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยหรือมีความเป็นส่วนตัว เมื่อข่าวสารถูกรับส่งโดยใช้สายเฉพาะระหว่าง 2 เครื่องเท่านั้น เครื่องอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้สายร่วมด้วย- เนื่องจากโทโพโลยีแบบสมบูรณ์เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ทำให้เราสามารถแยกหรือระบุเครื่องหรือสายที่เสียหายได้ทันที ช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ไขข้อผิดพราดหรือจุดที่เสียหายได้ง่าย
ข้อเสีย- จำนวนสายที่ใช้ต้องมีจำนวนมากและอินพุด / เอาต์พุตพอร์ต (i / o port ) ต้องใช้จำนวนมากเช่นกัน เพราะแต่ละเครื่องต้องต่อเชื่อมไปยังทุก ๆ เครื่องทำให้การติดตั้งหรือแก้ไขระบบทำได้ยาก- สายที่ใช้มีจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเดินสาย- เนื่องจากอุปกรณ์ต้องการใช้อินพุด / เอาต์พุตพอร์ตจำนวนมาก ดังนั้นราคาของอุปกรณ์ต่อเชื่อมจึงมีราคาแพงและจากข้อเสียข้างต้นทำให้โทโพโลยีแบบสมบูรณ์จึงถูกทำไปใช้ค่อนข้างอยู่ในวงแคบ






2.5 แบบผสม (Hybrid Network)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกันคือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆเครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุดเครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่หลากหลายเผ่า พันธ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้การเข้าถึงระยะไกล


วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การสื่อสารในการส่งข้อมูล

















สื่อกลางในการส่งข้อมูล
ปัจจุบันนี้การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา แต่การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้เลยถ้าปราศจากสื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล
ประเภทของสื่อกลางในการส่งข้อมูล สื่อกลางในการส่งข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้
1.1 สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair)
1.2 สายโคแอกเชียล (Co-axial Cable)
1.3 สายใยแก้วนำแสง (Optic Fiber Cable)
สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair)

รูปที่ 1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์


รูปที่ 2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์
ลักษณะของสายคู่ตีเกลียว - สายคู่ตีเกลียวแต่ละคู่ทำด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม พันกันเป็นเกลียว เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - สายคู่ตีเกลียว 1 คู่ ใช้แทน 1 ช่องทางการสื่อสาร - สามารถใช้ส่งสัญญาณได้ทั้งสัญญาณอนาล็อกและสัญญาณดิจิตอล
ประเภทของสายคู่ตีเกลียว สายคู่ตีเกลียวที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สายคู่ตีเกลียวชนิดไม่มีฉนวนโลหะหุ้ม (UTP) - ในสายเคเบิล 1 เส้น ประกอบด้วยสายคู่ตีเกลียว 4 คู่ (8 เส้น) - เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีระยะห่างไม่เกิน 30 เมตร
2. สายคู่ตีเกลียวชนิดมีฉนวนโลหะหุ้ม (STP) - ในสายเคเบิล 1 เส้น ประกอบด้วยสายคู่ตีเกลียว 4 คู่ (8 เส้น) - สายเคเบิลแต่ละเส้นหุ้มด้วยฉนวนโลหะ เพื่อป้องกันการรบกวนจากภายนอก - สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 150 bps
วิธีการใช้งานของสายคู่ตีเกลียว - การนำสารใยคู่ตีเกลียวมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย ปลายสายแต่ละข้างจะต้องใช้คอนเน็กเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับใช้คอนเน็กเตอร์ของสายโทรศัพท์เรียกว่า RJ-45 - การเชื่อมต่อคอนเน็กเตอร์ ทำได้ 2 รูปแบบคือ 1. สายคู่ตีเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายด้านหนึ่งต้องต่อกับคอนเน็กเตอร์อาร์เจ-45 ตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B 2.สายคู่ตีเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทั้งสองด้านต้องต่อกับคอนเน็กเตอร์ อาร์เจ-45 ตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งต้องต่อกับคอนเน็กเตอร์อาร์เจ-45 ตามมาตรฐาน EIA/TIA 568A
ข้อดีของสายคู่ตีเกลียว - ราคาถูก - ง่ายต่อการใช้งาน
สายโคแอกเชียล (Co-axial Cable)


รูปที่ 3 สายโคแอกเชียล
ลักษณะของสายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียล 1 เส้นประกอบด้วย - เส้นลวดทองแดงอยู่ตรงกลางเพื่อใช้เป็นตัวนำสัญญาณ - ชั้นที่ 1 หุ้มด้วยพลาสติก - ชั้นที่ 2 หุ้มด้วยฉนวนโลหะที่ถักทอเป็นตาข่าย - ชั้นที่ 3 (ชั้นนอกสุด) หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก - มีแบนวิดสูงถึง 500 MHz - สามารถใช้ส่งสัญญาณได้ทั้งสัญญาณดิจิตอลและสัญญาณอนาล็อก
ประเภทของสายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - สายโคแอกเชียลประเภท 50 โอห์ม ใช้สายส่งข้อมูลดิจิตอล - สายโคแอกเชียลประเภท 75 โอห์ม ใช้สายส่งข้อมูลอนาล็อก
วิธีการใช้งานของสายโคแอกเชียล - การนำสายโคแอกเชียลเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายปลายสายแต่ละข้างจะต้องใช้คอนเน็กเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับคอนเน็กเตอร์ของสายทีวีเรียกว่า บีเอ็นซี
ข้อดีของสายโคแอกเชียล - สามารถใช้งานได้ในระยะทางไกล - ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี ข้อเสียของสายโคแอกเชียล - ราคาแพง - สายมีขนาดใหญ่ - การติดตั้งคอนเน็กเตอร์ทำได้ยาก

สายใยแก้วนำแสง ( Optic Fiber Cable )



ลักษณะของสายใยแก้วนำแสง
สายใยแก้วนำแสง ประกอบด้วย - แกนนำแสงซึ่งทำด้วยแก้ว เรียกว่าท่อใยแก้วนำแสง มีขนาดเล็กมากประมาณเท่าเส้นผม แกนนำแสง 1 อัน ประกอบด้วยท่อใยแก้วนำแสงจำนวนมาก เช่น ถ้ามีท่อใยแก้วนำแสง 10 อัน เรียกว่าสายใยแก้วนำแสง 10 Core - แก้วสำหรับท่อหุ้มแกนนำแสง เรียกว่า Reflective Cladding - วัสดุท่อหุ้มภายนอก เรียกว่า Protection Buffer การส่งข้อมูล สัญญาณของข้อมูลดิจิตอล ( 0 และ 1 ) จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแสงที่มีความเข้มของแสงต่างระดับ
ประเภทของสายใยแก้วนำแสง สายใยแก้วนำแสงที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ - Multi Mode Step Index ใช้หลักการให้แสงสะท้อนด้วยมุมต่าง ๆ จนถึงปลายทาง ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลปานกลาง - Graded Index Multi Mode ใช้หลักการทำให้เกิดจุดรวมของการสะท้อนแสง ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลดีกว่า Multi Mlde Step Index - Single Modeเป็นสายใยแก้วนำแสงทีมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากที่สุดโดยใช้หลักการส่งสัญญาณแสงออกไปเป็น เส้นตรงไม่มีการสะท้อนของแสง
วิธีการใช้งานของสายใยแก้วนำแสง การนำสายใยแก้วนำแสงมาใช้งาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ - การส่งข้อมูล จะต้องมีอุปกรณ์กำเนิดแสง เพื่อทำการแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง - ตัวกลาง หรือแกนนำแสง ทำหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณข้อมูล - การรับข้อมูล จะต้องมีอุปกรณ์ตรวจรับแสง ทำการแปลงสัญญาณแสงให้เป็นกระแสไฟฟ้าเหมือน
ข้อดีของสายใยแก้วนำแสง - มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา - มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย - มีความทนทานต่อคลื่นรบกวนภายนอกสูง - การสูญเสียกำลังของสัญญาณมีน้อยกว่าสื่อกลางชนิดอื่น ๆ - สามารถติดตั้งและใช้งานในที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูงมาก ๆ ได้
ข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง - ราคาแพง - สายใยแก้วนำแสงมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ หรือระบบไร้สาย 1. คลื่นไมโครเวฟ 2. แสงอินฟาเรด 3. ระบบสื่อสารวิทยุ 4. ระบบดาวเทียม 5. บลูทูธ

คลื่นไมโครเวฟ


ลักษณะของคลื่นไมโครเวฟ - การรับ - ส่ง สัญญาณข้อมูลของคลื่นไมโครเวฟ ใช้จานสะท้อนรูปพาลาโบลา - การส่งสัญญาณข้อมูลจะทำการส่งต่อ ๆ กันไป จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานหนึ่ง ซึ่งการส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างสถานี สัญญาณข้อมูลจะเดินทางเป็นเส้นตรง - สถานีหนึ่ง ๆ ครอบคลุมพื้นที่ในการรับสัญญาณได้ 30 - 50 กิโลเมตร - ใช้ความถี่ในการส่งข้อมูลในช่วง 2 -40 GHz โดยที่ความถี่ในช่วง 2.40 - 2.484 GHz ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ข้อดีของคลื่นไมโครเวฟ - เป็นระบบไร้สายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสาย - ไม่มีปัญหาเรื่องสายขาด - มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย
ข้อเสียของคลื่นไมโครเวฟ - เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย - ค่าติดตั้งจานและเสาส่งมีราคาแพง - การใช้งานต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร

แสงอินฟาเรด
ลักษณะของแสงอินฟาเรด - ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ ๆ เท่านั้น - นิยมใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์เท่านั้น - มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลไม่สูง ประมาณ 4 Mbps
ข้อดีของแสงอินฟาเรด - ราคาถูก สามารถใช้งานโดยไม่ต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร
ข้อเสียของแสงอินฟาเรด - แสงอินฟาเรดไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ - แสงอินฟาเรดถูกรบกวนด้วยแสงอาทิตย์ได้ง่าย
ระบบสื่อสารวิทยุ ( Radio Link )ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ - ระบบสื่อสารวิทยุ 1 ช่องสัญญาณ สามารถใช้ได้กับหลายสถานี - ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูลในช่วง 400 - 900 MHzข้อดีของระบบสื่อสารวิทยุ - สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องของใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร - สามารถส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีเคลื่อนที่ได้ - มีค่าแบนด์วิดธ์สูง
ข้อเสียของระบบสื่อสารวิทยุ - เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย - ความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ
ระบบดาวเทียม






ลักษณะของระบบดาวเทียม - การทำงานของระบบดาวเทียมคล้ายกับคลื่นไมโครเวฟ - การส่งสัญญาณข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า สัญญาณอัปลิงค์ - การส่งสัญญาณข้อมูลจากระบบดาวเทียมมายังพื้นดิน เรียกว่า สัญญาณดาวน์ลิงค์ - การสื่อสารข้อมูลโดยใช้ระบบดาวเทียมมีอุปกรณ์ เรียกว่า Transponder ทำหน้าที่รับ – ส่ง
Bluetooth



BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย







อ้างอิง
http://comschool.site40.net/data2.htm